บทเรียน: ชุดวิดีโอการเรียนรู้ “ฉลาด Kid ฉลาดออม”

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ขอเชิญชวน ทุกท่านสร้างวินัยทางการเงินให้แก่เยาวชน

รายละเอียดบทเรียน
ฉลาดKID ฉลาดออม
วิทยากร: หน่วยงานกิจกรรมเพื่อสังคม ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ระยะเวลารวม: 30 นาที

“ฉลาด Kid ฉลาดออม” เป็นสื่อวิดีโอการเรียนรู้ ในโครงการสร้างวินัยทางการเงินเยาวชน ระดับประถมศึกษา Fin Fin Superhero เพื่อเป็นสื่อการสอนให้แก่ “ครู และพ่อแม่ผู้ปกครอง” นำไปเผยแพร่แก่เยาวชน โดยนำเสนอเรื่องราวของเด็กน้อย 3 คนที่เห็นถึงคุณประโยชน์ของการออม และรู้จักใช้เงิน คิดก่อนซื้อ รู้จักแยกแยะค่าใช้จ่ายจำเป็น-ไม่จำเป็น การลงบัญชีรายรับรายจ่าย ผนวกเรื่องความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และคุณธรรมต่างๆ เช่น ความกตัญญู ความมีวินัย เป็นต้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการปลูกฝังให้แก่เยาวชนได้ทั้งในชั้นเรียน หรือชีวิตประจำวัน

“ฉลาด Kid ฉลาดออม” เป็นสื่อวิดีโอการเรียนรู้ ในโครงการสร้างวินัยทางการเงินเยาวชน ระดับประถมศึกษา Fin Fin Superhero เพื่อเป็นสื่อการสอนให้แก่ “ครู และพ่อแม่ผู้ปกครอง” นำไปเผยแพร่แก่เยาวชน โดยนำเสนอเรื่องราวของเด็กน้อย 3 คนที่เห็นถึงคุณประโยชน์ของการออม และรู้จักใช้เงิน คิดก่อนซื้อ รู้จักแยกแยะค่าใช้จ่ายจำเป็น-ไม่จำเป็น การลงบัญชีรายรับรายจ่าย ผนวกเรื่องความรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และคุณธรรมต่างๆ เช่น ความกตัญญู ความมีวินัย เป็นต้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการปลูกฝังให้แก่เยาวชนได้ทั้งในชั้นเรียน หรือชีวิตประจำวัน

ในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างวินัยทางการเงินสำหรับเยาวชน ระดับประถมศึกษา Fin Fin Superhero ชุด “ฉลาด Kid ฉลาดออม” มีคำแนะนำ และเครื่องมือช่วยให้คุณครู พ่อแม่ ผู้ปกครอง สร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ ได้ง่ายขึ้นดังนี้

 

กระบวนการสร้างการเรียนรู้ “ฉลาด Kid ฉลาดออม”

 

ขั้นที่ 1 : ขั้นชง Preparation  (การนำเข้าสู่บทเรียน)

            กิจกรรมเปิด : เตรียมความพร้อมของผู้เรียน ด้วยกิจกรรมกระตุ้นสมอง เช่น
           - การทำ brain gym

          - การตั้งคำถามชวนคิดเกี่ยวกับเรื่อง การออมเงิน ในความเข้าใจของเด็กๆ เป็นอย่างไร
          - มีวิธีการออมเงินอย่างไรได้บ้าง
          - ของใช้ที่จำเป็น / ไม่จำเป็นในแต่ละสถานการณ์ (ตั้งโจทย์ให้เด็กๆ แสดงความคิดเห็น เช่น เข้าค่ายลูกเสือ ไปโรงเรียน ไปเที่ยวสวนสัตว์ เป็นต้น)
          - ความพอดี พอเหมาะ เป็นอย่างไร
          - แนวคิดเรื่องการใช้เงินของเด็กๆ เป็นอย่างไรบ้าง
          - ก่อนการซื้อของแต่ละครั้ง มีสิ่งใดที่ต้องคำนึงถึงบ้าง (เหตุและผลในการตัดสินใจซื้อของหนึ่งชิ้น
          - นักเรียนมีการวางแผนการเงินของตัวเองอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น ได้รับเงินแต๊ะเอีย มา 1,000 บาท นักเรียนจะวางแผนการใช้เงิน  อย่างไรบ้าง
           - การจดบันทึกรายรับรายจ่าย ทำอย่างไร หากเราจะทำบัญชีรายรับรายจ่ายของตนเอง มีวิธีการทำอย่างไร

หมายเหตุ :  คุณครู พ่อแม่และผู้ปกครอง เลือกตั้งคำถามให้สอดคล้องกับคลิปวิดีโอ ในแต่ละเรื่อง

 

การนำเสนอข้อมูล : เปิดคลิป วิดีโอ ชุด “ฉลาด Kid ฉลาดออม” ตามเนื้อเรื่องแต่ละตอนให้ตรงกันหรือสอดคล้องกับเนื้อหาที่คุณครูออกแบบไว้ โดยแต่ละตอนจะมีเนื้อหาและวัตถุประสงค์ที่ต้องการสอนเด็กและเยาวชน ดังนี้

1. Kid D มีออม วัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนเห็นความสำคัญของการออม รู้จักการแยกแยะค่าใช้จ่ายระหว่างของใช้ที่จำเป็น หรือของใช้ที่ไม่จำเป็น

2. Kid D มีสติ วัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชน ฝึกแยกแยะอะไรจำเป็นไม่จำเป็น

3. Kid D มีตังค์ วัตถุประสงค์เพื่อเพื่อปลูกฝังให้เยาวชนเห็นถึงประโยชน์ของการมีวินัยในการออม ได้เรียนรู้ตัวอย่างจากการลงมือทำ และเห็นความสำคัญของการจดบันทึกบัญชีแก้มลิง

 

ขั้นที่ 2 : ขั้น เชื่อม (Connection)

            ในขั้นที่ 2 นี้ คุณครู พ่อแม่และผู้ปกครอง สามารถใช้กิจกรรมสร้างการเรียนรู้ได้หลากหลาย ตามช่วงวัยของเด็กๆ ทั้งกิจกรรมเดี่ยว กิจกรรมกลุ่ม การอภิปราย การนำเสนอเป็นชิ้นงาน กิจกรรมศิลปะ เช่น การวาดรูป ละคร การแสดง ได้ตามความเหมาะสม

            ทั้งนี้กิจกรรมที่ออกแบบนั้นเชื่อมโยงกับเนื้อหาของคลิปวิดีโอที่ใช้ ชง และคำนึงถึงทักษะ และการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ

หมายเหตุ : ชุดสื่อการสอนนี้ คณะผู้จัดทำ ได้ออกแบบตัวอย่างใบงาน ที่คุณครูสามารถดาวน์โหลด และนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม

 

ขั้นที่ 3 : ขั้น ใช้ (Application)

            การทดลอง : ในขั้นนี้ คุณครู พ่อแม่และผู้ปกครอง สามารถใช้ใบงานจากในขั้นที่ 2 เพื่อให้นักเรียนทำกิจกรรมตามเนื้อหาของคลิป แล้วนำเสนอผลงานจากใบงาน ซึ่งจะเป็นงานเดี่ยวรายบุคคล หรืองานกลุ่ม ได้ตามความเหมาะสม

            การประยุกต์ใช้ พ่อแม่และผู้ปกครอง ผู้ปกครองสามารถออกแบบกิจกรรมเพิ่มเติม ให้ผู้เรียนนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากคลิป หรือจากการทำใบงาน ไปสู่การลงมือปฏิบัติ เช่น การตั้งเป้าหมายการออมเงิน และให้ผู้เรียนลงมือการออมเงิน คุณครูติดตามหรือสอบถามความคืบหน้า เป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนได้ตามความเหมาะสม ไม่มีการบังคับ และอยู่บนพื้นฐานความสมัครใจของผู้เรียน

 

สรุปเนื้อหาในแต่ละบทเรียน

            ในขั้นตอนนี้ คุณครู พ่อแม่และผู้ปกครอง สามารถออกแบบการสรุปเนื้อหาของแต่ละบทเรียนจากคลิปวิดีโอได้อย่างอิสระ หลากหลายวิธี ตามความเหมาะสม และบริบทการจัดการเรียนรู้ของท่าน  ตัวอย่างเช่น
           - สรุปเนื้อหาด้วยการทำ Mind map
           - สรุปเนื้อหาด้วยการวาดภาพ
          - คุณครูสรุปประเด็นสำคัญของเนื้อหาจากใบงาน ชิ้นงาน รายงานของเด็กๆ ขึ้นสไลด์หรือกระดานดำ เพื่อให้เด็กๆ ในห้องเรียนเข้าใจ
          - ใช้ไฟล์เอกสาร สรุปเนื้อหาของคลิป ซึ่งทีมงานได้สรุปประเด็นสำคัญของแต่ละคลิป ที่ท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ดังกล่าวในบทเรียน